หลายครั้งที่คุณอาจตั้งคำถามว่าทำไมต้องไปตรวจสุขภาพทุกๆปี ทั้งๆที่ร่างกายในปัจจุบันก็ยังแข็งแรงดี และบ่อยคั้งที่คุณอาจจะยังงงๆและสงสัยว่าในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้งจะต้องตรวจอะไรบ้างและควรแริ่มจากสิ่งใด เรามีคำตอบให้ในนี้ค่ะ
การตรวจสุขภาพก็เหมือนกับการประเมินสภาพร่างกายของเราค่ะว่า ภายในร่างกายเรายังแข็งแรงอยู่หรือไม่ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตหรือเปล่า และหากตรวจพบว่ามีอาการบางอย่างที่ส่อเค้าว่าอาจพบโรคบางโรคในระยะเริ่มต้น เราจะได้เตรียมปรึกษาคุณหมอเพื่อดูแลและรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคแต่เนิ่นๆ ส่วนข้อจำกัดในการเลือกว่าจะตรวจสภาพร่างกายลักษณะใดนั้น สามารถแบ่งองค์ประกอบโดยขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และความเสี่ยงเป็นหลัก แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงการตรวจสภาพร่างกายมีหลายวิธี หากไม่มีข้อบ่งชี้ หรืิออาการที่แสดงออกมาก็สมควรที่จะต้องเลือกการตรวจวิเคราะห์สภาพร่างกายบางอย่าง เพราะการตรวจบางประเภทนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น หากต้องทำ CT Scan ทั้งตัวเพีื่อหามะเร็ง คุณอาจจะได้รับรังสีมากจนเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ซึ่งเป็นข้อควรระวัง
ที่ผ่านมามีหลายคนที่ตรวจสุขภาพเสร็จแล้วแต่ไม่ทราบว่าต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือควรต้องระมัดระวังเรื่องอะไรบ้าง แสดงว่าคุณได้ประโยชน์แค่ครึ่งเดียว คือการค้นหาโรคที่อาจจะพบเจอจากการตรวจสุขภาพแต่คุณยังไม่ได้ป้องกันตัวเองจากโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขั้นภายหลังถ้าคุณไม่พึงระวัง
ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะเลือกรายการตรวจ เราต้องพิจารณาความเสี่ยง อายุ และเพศเป็นสำคัญ
เรามาดูกันค่ะว่าหลักๆมีอะไรบ้าง
Complete Blood Count ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คือการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพีื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจางและการตรวจนับเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย รวมถึงการตรวจเกร็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
Glucose เบาหวาน คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อทำการคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
Hemoglobin A1C คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
Total Cholesterol คือการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสมบูรณ์ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น
1) […]