Articles

สุดยอดอาหารแคลเซียมสูง

คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าหากอยากได้รับปริมาณแคลเซียมสูง จะต้องดื่มนมมากๆซึ่งนั่นก็ไม่ได้ผิด แต่ถ้าเรามีตัวเลือกอีก 15 ตัวเลือก ที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมากกว่านมเสนอให้กับคุณ การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อคงไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวัน คือ 1,000 มิลลิกรัมสำหรับผู้ใหญ่ และต้องการเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,200 มิลลิกรัมตั้งแต่อายุ 50 ปีเป็นต้นไป

1. ชีส ชีสเป็นผลิตภัณฑ์จากโปรตีนในนม ดังนั้นชีสจึงเป็นอาหารที่แคลเซียมสูงมากกว่านมถึง 2 เท่า อาทิเช่น พาร์เมซาน ชีส และยังให้พลังงานสูง แต่น้ำตาลแลคโตสน้อยกว่านม ชีสจึงเป็นอีกทางเลือกในการรับประทานแคลเซียม และยังเป็นของทานเล่นที่มีประโยชน์ สำหรับเด็กๆในช่วงวัยกำลังเจริญเติบโตด้วย ดังนั้นลองสลับจากเมนูเดิมๆเป็นสปาเกตตี้คาโบนาล่า มักกะโรนีครีมซอสกุ้ง หรือซีซ่าร์สลัดใส่พาร์เมซานชีสโดยขูดใส่ลงไปก็อร่อยและมีประโยชน์มากด้วย แต่ระวังอ้วนด้วยล่ะ รับประทานให้พอเหมาะเพื่อสุขภาพที่ดี

2. โยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่หวาน อีกเหตุผลในคนที่แพ้โปรตีนในนมวัว เลือกทานโยเกิร์ตแทน เพราะโยเกิร์ตทำจากนมที่ผ่านการหมักและย่อยโดยจุลินทร์ที่มีประโยชน์ ให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่ร่างกายดูดซึมได้ง่ายและอาการแพ้ก็น้อยลงกว่าการรับประทานนมวัวโดยตรง อีกทั้งโยเกิร์ตยังมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากต่อระบบทางเดินอาหารด้วย ไม่เพียงแค่นั้นเมื่อเรารับประทานโยเกิร์ตในปริมาณเท่ากับนม ยังได้รับแคลเซียมมากว่าเพราะจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตช่วยดูดซึมแคลเซียมได้ด้วย

3. เมล็ดพืช เมล็ดพืชส่วนใหญ่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น งาขาว งาดำ […]

อาหารรักษามวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน

 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระดูก

กระดูกของคนเรามีการเจริญตั้งแต่ระยะฟีตัส (อยู่ในครรภ์มารดา) ทารก และเรื่อยไปจนถึงอายุประมาณ 25-30 ปี จากนั้นจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของกระดูกด้วยการสะสมมวลกระดูก จนถึงระยะมวลกระดูกสูงสุด (Peck Bone Mass)ที่อายุ 35 ปี หลังจากนั้น มวลกระดูกจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ อย่างไรก็ตามในระยะที่มวลกระดูกยังไม่ถึงค่าสูงสุด การบริโภคแคลเซียมมีความสำคัญ ต่อการสะสมมวลกระดูก หากบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับมวลกระดูกสูงสุด จะต่ำกว่าระดับที่ควรเป็นได้ และจะไปมีผลทำให้เกิดปัญหาภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกบางและเปราะ จึงมีโอกาสแตกหักได้ง่ายโดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพกและสันหลัง หรือกระดูกหลังยุบ ทำให้หลังค่อมตัวเตี้ยลง

การทานอาหารที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ให้มีความแข็งแรงอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น น่าจะมีความสำคัญในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในอนาคตได้ และถึงแม้ว่าบางคนจะมีอายุที่เกินระยะมวลกระดูกสูงสุด (อายุเกิน 35 ปี) การทานอาหารที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ก็เป็นการช่วยรักษาไม่ให้มวลกระดูกที่มีอยู่เสื่อมถอยลงไปจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับพฤติกรรมการทานอาหารต่างๆที่มีผลต่อการเจริญของกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดปัญหาของการเกิดภาวะ กระดูกพรุน หรือกระดูกเปราะบาง ในอนาคตได้

 

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างมวลกระดูก

1. บริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเนื้อกระดูกและป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูก […]