Articles

9 โรค ที่ต้องระวังช่วงหน้าฝน

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระมัดระวัง 9 โรคและ 4 ภัยสุขภาพในช่วงฤดูฝน พร้อมสั่งการหน่วยงานในสังกัดเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรค

โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

– โรคไข้หวัดใหญ่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว 

– โรคปอดอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ ติดต่อทางการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือไอจามรดกัน 

ทั้ง 2 โรคสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องคลุกคลีกับผู้อื่น

โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ

– โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน 

– โรคอาหารเป็นพิษ มักพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน โดยทั่วไปมีอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง มักจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง 

– โรคอหิวาตกโรค ติดต่อโดยการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน บางคนมีภาวะขาดน้ำรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้

การป้องกันกลุ่มโรคทางเดินอาหารและน้ำคือ ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร รับประทานอาหาร หรือหลังจากการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ดื่มน้ำสะอาด น้ำต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวดที่มีฝาปิดสนิท รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ หากต้องการรับประทานอาหารค้างมื้อ ควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง และไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ […]

ระวังอาหารเป็นพิษช่วงปีใหม่

Tweet !function(d,s,id){var js,fjs=d.getElementsByTagName(s)[0];if(!d.getElementById(id)){js=d.createElement(s);js.id=id;js.src=”//platform.twitter.com/widgets.js”;fjs.parentNode.insertBefore(js,fjs);}}(document,”script”,”twitter-wjs”);

 

รมช.สธ. เผยช่วงเทศกาลปีใหม่เป็นช่วงที่ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับบ้านและมีการเลี้ยงสังสรรค์กันบ่อยในทุกพื้นที่ ขอประชาสัมพันธ์ เตือนประชาชนให้ระวังการเกิดอันตรายจากเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ รวมถึงแนะกินอาหารปรุงสุก สะอาด และวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการ ส่วนพ่อค้าแม่ค้าอย่าหยิบจับอาหารโดยตรงด้วยมือเปล่า และไม่ใช้อุปกรณ์สัมผัสอาหารดิบและสุกร่วมกัน

นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปีจะมีประชาชนจำนวนมากที่ทำงานเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในจังหวัดต่าง ๆ เดินทางกลับภูมิลำเนา ประชาชนจำนวนมากต้องใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟที่สถานีขนส่งผู้โดยสารและสถานีรถไฟ ในระหว่างรอรถโดยสารจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยเข้าไปรับประทานอาหารในศูนย์อาหารหรือร้านอาหารที่มีอยู่ในทุกสถานีหรือซื้ออาหารไปรับประทานในระหว่างเดินทาง ซึ่งถ้าอาหารนั้นไม่สะอาดมีเชื้อโรคปนเปื้อน ผู้บริโภคอาหารนั้นจะมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง ท้องเสีย หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิต ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหาร ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ ประจำปี 2555 เพื่อแจ้งเตือนภัยและให้ข้อมูลในการประกอบอาหารหรือเลือกรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการตรวจวิเคราะห์หาจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในอาหารพร้อมบริโภค รวมจำนวน 76 ตัวอย่าง โดยตรวจหาเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) เชื้อวิบริโอ […]