ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังจะเห็นได้ว่าในปี 2553 สัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ที่ 12% ของประชากรไทย และประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17% ในปี 2563 ซึ่งแน่นอนผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวไม่โรคใดก็โรคหนึ่ง
จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 ของสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำการสำรวจในประชากรจำนวนทั้งสิ้น 21,960 คน มีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 44% หรือ 9,720 คน ทั้งนี้พบว่าประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีโรคเรื้อรังเรียงตามลำดับดังนี้ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวาน โดยมีผู้ป่วยเพียงบางส่วนที่รู้ตัวและได้รับการรักษา และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแต่ควบคุมไม่ได้ก็มีจำนวนไม่น้อย ซึ่งสูงสุดอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกับปัญหาการใช้ยา
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มักจะมีหลายโรคร่วม การรักษาหลักก็คือ รับประทานยา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกันและใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง ช่วงเวลาการนัดผู้ป่วยเพื่อมาติดตามผลการรักษามีความถี่ต่ำ อาจเป็น 3-6 เดือน ซึ่งในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่บ้านและรับประทานยาหลายชนิด ใช้ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทั้งจากยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว จากการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ […]