องค์การเภสัชกรรม แนะเตรียม “ยาจำเป็น” ในการเดินทาง โดยเฉพาะยาสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องกินประจำ และยาพื้นฐานสำหรับใช้กรณีฉุกเฉิน
นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้จะถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้วและในเทศกาลดังกล่าวจะมีวันหยุดยาว ดังนั้นการเตรียมยาในระหว่างเดินทางไม่ว่าจะเดินทางในประเทศ หรือต่างประเทศสำคัญที่สุดอันดับต้น คือ การเตรียมยาในส่วนของผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ซึ่งยาของผู้สูงอายุจะมียาที่ต้องกินเป็นประจำ ต้องเตรียมยาในปริมาณเท่ากับวันที่เดินทางหรือสำรองเพิ่ม 3-5 วัน และควรจะติดชื่อยาไปด้วยเพราะหากยาตกหล่นสูญหาย จะได้สามารถซื้อยาตัวเดิมหรือเข้าโรงพยาบาล แจ้งแพทย์ได้ว่าเดิมใช้ยาอะไร
ส่วนยารายการอื่นๆจะเป็นยาพื้นฐานสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน อาทิ พาราเซตามอลลดไข้ ทั้งชนิดเม็ดและน้ำเชื่อม ยาแก้แพ้ซึ่งสามารถลดน้ำมูก และใช้แก้คันได้ด้วย ยาลดกรดชนิดน้ำซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิดเม็ด ผงเกลือแร่ ผงถ่านกรณีท้องเสีย ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดเมื่อย และอุปกรณ์ทำแผล
สำหรับการกินยาในขณะที่ขับรถนั้นต้องศึกษาก่อนว่า ยาที่กินมียาตัวใดที่กินแล้วทำให้ง่วงนอน ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือยาในกลุ่มแก้ปวดไมเกรน ยาคลายกังวลบางชนิด ยาพวกนี้จะทำให้ง่วงนอน ความสามารถในการรับรู้เสียไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ กรณีไม่สามารถเลี่ยงได้ ควรปรับเวลาเพื่อพักผ่อนหลังทานยาสัก 1 – 2 ชั่วโมง แล้วจึงขับต่อไป
ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไปว่า […]