1. กินอาหารไม่มีเส้นใย
เพราะปัจจุบันนี้กินแต่ข้าวขาว ขนมปังขาว ก๋วยเตี๋ยว ขนมเค้ก อาหารเหล่านี้ไม่มีเส้นใย ปกติร่างกายต้องการเส้นใยวันละ 20-25 กรัม
2. ความเครียด
เมื่อเกิดความเครียด จะมีอาการเบื่ออาหาร การขับถ่ายก็จะถูกผลกระทบไปด้วย คือ ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราว รอให้พ้นวิกฤตคลายเครียดแล้ว จึงจะกินง่ายถ่ายคล่อง
3. การกลั้นอุจจาระ
เป็นเพราะอาจไม่ชอบอุจจาระนอกบ้านโดยเฉพาะเด็กเล็ก ครั้งสองครั้งไม่เป็นไร ถ้าทำบ่อย ๆ ร่างกายจะแย่
4. ไม่ออกกำลังกาย
เพราะการออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญอาหาร
5. อื่น ๆ เช่น
ทานชา, กาแฟ, ยาเคลือบกระเพาะ, ทานแคลเซียมมากเกินไป, ทานอาหารเหลว หรืออาจมีโรคร้ายแรงซ่อนอยู่ เช่น โรคไม่มีปมประสาทตรงทวารหนัก โรคพยาธิไส้เดือนอุดตันลำไส้ เป็นต้น
การย่อยอาหารจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว อาหารจากลำไส้เล็ก เมื่อย่อยแล้วจะเป็นของเหลว หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตาม
ลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
วิธีป้องกันท้องผูกได้แก่
(1). ออกแรง ออกกำลังเป็นประจำ ไม่นั่งหรือยืนนานเกินคราวละ 1-2 ชั่วโมง การออกกำลังหนักหน่อย และการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ จะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ได้ดี
(2). ดื่มน้ำให้มากพอในช่วงกลางวัน การดื่มน้ำกลางคืนอาจทำให้ปวดปัสสาวะ นอนหลับไม่สนิท หรือฝันร้ายได้ การดื่มน้ำมากพอช่วยลดการดูดซึมน้ำจากอุจจาระในลำไส้ใหญ่ ทำให้อุจจาระไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง
(3). หลีกเลี่ยงอาหารเส้นใยต่ำ โดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล ขนมทำจากแป้ง และไม่กินอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อ เนยแข็ง ไข่ ฯลฯ มากเกิน
(4). กินอาหาร ที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะผัก ถั่ว ผลไม้ทั้งผล นัท (เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ), ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง (ควรซื้อถุงเล็ก กินให้หมดใน 1 เดือน เก็บในที่แห้ง เพื่อป้องกันเชื้อรา)
ผลไม้แห้งช่วยป้องกันท้องผูกได้ดี ควรเลือกผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาล และไม่ผ่านการดอง น้ำผลไม้ปั่นรวมกาก ไม่เติมน้ำตาล (smoothie) ช่วยได้ดีเช่นกัน
(5). ฝึกนิสัย ถ่ายหลังอาหารภายใน 1/2 ชั่วโมง เมื่อผนังกระเพาะอาหารโป่งออกหลังอาหารจะเกิดสัญญาณ (gastro-colic reflux) ทำให้ถ่ายได้ง่ายขึ้น
วิธีดื่มน้ำ 2-3 แก้วหลังตื่นนอน รอ 15-30 นาทีแล้วเข้าห้องน้ำช่วยได้ดีเช่นกัน และเมื่อปวดอุจจาระแล้ว พยายามเข้าห้องน้ำ อย่ากลั้นไว้
(6). หลีกเลี่ยง การดื่มนม หรือกินผลิตภัณฑ์นมมากเกินไป เกลือแร่ อาหาร หรือยาบางอย่างอาจทำให้ท้องผูกได้ เช่น แคลเซียม ยาลดกรดชนิดน้ำบางชนิด ชา ฯลฯ
(7). ทานยาระบาย เพื่อช่วยในการขับถ่ายในเบื้องต้น เพราะบางท่านปฏิบัติอย่างไรก็ยังถ่ายไม่ออก เพราะอาหารที่ย่อยแล้วแต่ไม่ถูกขับถ่ายออกมาจะเกิดการเน่าเสียในลำไส้ เกิดเป็นสารพิษที่ลำไส้จะดูดเข้าสู่ร่างกายกลับเข้าไปใหม่
อ้างอิงจาก
หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
บ้านสุขภาพ โดย น.พ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ยาทิพย์ลีลา
เป็นยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก