Articles

ควรเตรียม “ยาอะไร” ในการเดินทาง

ยา

 

 

องค์การเภสัชกรรม แนะเตรียม “ยาจำเป็น” ในการเดินทาง โดยเฉพาะยาสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องกินประจำ และยาพื้นฐานสำหรับใช้กรณีฉุกเฉิน

นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้จะถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้วและในเทศกาลดังกล่าวจะมีวันหยุดยาว ดังนั้นการเตรียมยาในระหว่างเดินทางไม่ว่าจะเดินทางในประเทศ หรือต่างประเทศสำคัญที่สุดอันดับต้น คือ การเตรียมยาในส่วนของผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ซึ่งยาของผู้สูงอายุจะมียาที่ต้องกินเป็นประจำ ต้องเตรียมยาในปริมาณเท่ากับวันที่เดินทางหรือสำรองเพิ่ม 3-5 วัน และควรจะติดชื่อยาไปด้วยเพราะหากยาตกหล่นสูญหาย จะได้สามารถซื้อยาตัวเดิมหรือเข้าโรงพยาบาล แจ้งแพทย์ได้ว่าเดิมใช้ยาอะไร

ส่วนยารายการอื่นๆจะเป็นยาพื้นฐานสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน อาทิ พาราเซตามอลลดไข้ ทั้งชนิดเม็ดและน้ำเชื่อม ยาแก้แพ้ซึ่งสามารถลดน้ำมูก และใช้แก้คันได้ด้วย ยาลดกรดชนิดน้ำซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิดเม็ด   ผงเกลือแร่ ผงถ่านกรณีท้องเสีย ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดเมื่อย และอุปกรณ์ทำแผล

สำหรับการกินยาในขณะที่ขับรถนั้นต้องศึกษาก่อนว่า ยาที่กินมียาตัวใดที่กินแล้วทำให้ง่วงนอน  ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือยาในกลุ่มแก้ปวดไมเกรน  ยาคลายกังวลบางชนิด ยาพวกนี้จะทำให้ง่วงนอน ความสามารถในการรับรู้เสียไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ กรณีไม่สามารถเลี่ยงได้ ควรปรับเวลาเพื่อพักผ่อนหลังทานยาสัก 1 – 2 ชั่วโมง แล้วจึงขับต่อไป

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไปว่า ในช่วงดังกล่าวอาจจะมีโรคที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากอากาศร้อน จากร่างกายที่เปียกน้ำ พักผ่อนน้อย รวมถึงอยู่ในที่ชุมชนก็มีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่ายที่สุด และอีกโรคคือ ท้องเสีย ต้องเตรียมยาและสำรองเพิ่มสำหรับหลายคน ส่วนผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามลืมยาบำรุงที่คุณหมอให้กินโดยเฉพาะคุณแม่ที่มีปัญหารกเกาะต่ำซึ่งอาจจะมีปัญหาได้โดยเฉพาะการเดินทางที่กระทบกระเทือนต้องระวังมาก หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยง และถ้าหากมีอาการฉับพลันขึ้นมาให้เลือกใช้เฉพาะยาพาราเซตามอลเท่านั้น เพื่อลดไข้แก้ปวดหรือใช้คลอเฟนนิรามีนได้เพื่อลดน้ำมูก สำคัญที่สุดควรมีเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์หรือพยาบาลที่ฝากครรภ์ไปด้วย ถ้ามีปัญหาจะได้โทรปรึกษาหรือหากมีเหตุสุดวิสัยจริงๆ ให้เข้าพบแพทย์ที่สถานพยาบาลในพื้นที่นั้นๆ ทันที

นอกจากนี้ ยังมีโรคระหว่างการเดินทางกลับคือ โรคกระเพาะอาหาร เพราะว่าคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอาการจะกำเริบขึ้นมาได้ เนื่องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา และพักผ่อนน้อย อีกโรคที่จะพบมากสำหรับผู้หญิงก็คือ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เนื่องจากระหว่างการเดินทางในช่วงสงกรานต์รถติด ห้องน้ำเข้าไม่ได้ ไม่สะดวก อั้นไว้ สุดท้ายแล้วก็เกิดการติดเชื้อและการอักเสบขึ้น  ซึ่งเป็นโรคที่พบมาก   สุดท้ายก็คือการไปเที่ยวป่าหรือน้ำตก   ต้องระวังในเรื่องของไข้เลือดออก หรือมาลาเรีย ถ้ามีไข้ควรรีบพบแพทย์ทันที  เพื่อวินิจฉัยและบำบัดรักษา ไม่ควรสรุปเองว่าอาจเป็นไข้กินยาพารา หรือกลับมาบ้านรอดูอาการซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์ส่งผลถึงแก่ชีวิตได้

 

ขอบคุณช้อมูลจาก

สสส

 

 

ยาบุรุษ 2000 สูตรผสมโสม
บำรุงร่างกาย สำหรับสุภาพบุรุษ

ยาสตรี 2000
บำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย สำหรับสุภาพสตรี

ยาประดงพระสังข์ทรงช้าง
แก้โรคผิวหนังที่เป็นเม็ดผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย

 

1 comment to ควรเตรียม “ยาอะไร” ในการเดินทาง