Articles

ถอนพิษเรื้อรังต้อง…รางจืด


รางจืด

 

รางจืด…ล้างพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ด้วยกระแสของการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ที่เกษตรกรต้องใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีจำนวนมากในการผลิต จากการสำรวจตัวอย่างเลือดของเกษตรกรของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีสารเคมีในกระแสเลือดอยู่มากว่าร้อยละ ๕๑ เพราะฉะนั้นจากเกษตรกร ๑๔.๑ ล้านคนจะพบ ๗ ล้านกว่าคนมีสารพิษฆ่าแมลงทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟต (organophospjate) คาร์บาเมต (carbamate)  และอาการที่เกิดขึ้นคือ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกสมุนไพรรางจืดมาทำการรณรงค์เพื่อใช้ล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคนมากกว่า ๓๐ ปีแล้ว

โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืดครั้งแรกเริ่มจากแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ารางจืดสามารถช่วยชีวิต

ชื่อวิทยาศาสตร์  Thumbergia laurifolia Lindl

วงศ์  Acanthaceae

ชื่อสามัญ  Laurel clockvine, blue trumphet vine

ชื่ออื่นๆ  รางจืดมีมากมาย เช่น รางจืด รางเอางย็น ว่านรางจืด เถา ยาเขียว เครือเถาเขียว กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง (ภาคกลาง) ย้ำแย้ (อุตรดิตถ์)  ฮางจืด ฮางเย็น เครือเข้าเย็น หนามแน่ (ภาคเหนือ) คาย (ยะลา) และดุเหว่า (ปัตตานี) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia laurifolia Lindl.

ลักษณะพิช  รางจืดเป็นไม้เถาสามารถเลื้อยไปตามพื้นดินหรือพาดพันขึ้นคลุมต้นไม้ใหญ่ๆ ได้ทั้งต้น เถามีลักษณะกลม สีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้มออกเป็นคู่ตรงข้ามตรงข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายใบย่านางรูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง ๔-๗ เซนติเมตร (ซม.) ยาว ๘-๑๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น เส้นใบมี ๕ เส้น ออกฐานใบเดียวกัน

ดอกช่อ   ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อละ ๓-๔  ดอก กลีบดอกแผ่ออกเป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น ๕ แฉก โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวราว ๑ เซนติเมตร มักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ในหลอด สีม่วงแกมน้ำเงิน ผลเป็นผลแห้งแล้วแตก ๒ ซึก จากจะงอยส่วนบน มักมีดอกในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน-กุมพาพันธ์) ดอกที่โรยแล้วบางดอกอาจติดผล เมื่อแก่เปลือก ผลเป็นสีน้ำตาล แตกออกเป็น ๒ ซึก เมล็ดมีสีน้ำตาลมีปุ่มเล็กๆ คล้ายหนามอยู่บนเปลือกเมล็ด และสามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่การขยายพันธุ์รางจืดส่วนใหญ่นิยมนำเถาแก่หรือใบมาปักชำมากกว่า

การกระจายพันธุ์   รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศแถบอินเดีย อินโดจีน ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย อินโนดีเซีย ฟิลิปปินส์ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และไตหวัน

การขยายพันธุ์    นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา วิธีที่ดีที่สุดคือเลือกข้อแก่ๆ ของรางจืดที่ใบติดอยู่สอบใบมา ๑ ข้อ เด็ดใบออก ๑ ใบ นำไปชำในทรายหรือแกลบที่ไม่มีดิน รดน้ำให้ชุ่มจนรากงอก จากนั้นนำไปลงถุงเพาะชำ หรือเลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ ๖-๘ นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ ๒-๓ ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า สารพิษฆ่าแมลง ทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟส (organophostpate)   คาร์บาเมต (carbamate) และอาการที่เกิดขึ้น คือ วิงเวียนศรีษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกสมุนไพรรางจืดมาทำการรณรงค์เพื่อใช้ล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคนมากกว่า ๓๐ ปีแล้ว

โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืดครั้งแรกเริ่มจากแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ารางจืดสามารถช่วยชีวิตแมวของท่านที่ถูกวางยาพิษได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทำการศึกษาวิจัยรางจืดในการแก้พิษสารกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๒๒-๒๕๒๓ โดยเริ่มจากสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (เช่น โฟลิดอล พาราไทออน) ต่อมามีการศึกษาพบว่ารางจืดยังสามารถลดพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บอเนต เช่น เมโทรมิล เป็นต้น

จากการศึกษาวิจัยการต้านฤทธิ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของรางจืดนั้นอาจเกิดจากหลายกลไก เช่น สารสกัดรางจืดทำให้ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเพิ่มขึ้น หรือลดการยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ว ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้ทำหน้าที่ทำลายโคลีนที่เป็นสาร สื่อประสาท ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตและคาร์บาเมต จะไปทำลายเอนไซม์ตัวนี้ และเกิดการสะสมของโคลีนทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง นำสู่อาการชัก จากการศึกษาพบว่ารางจืดไปเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ดังกล่าว

รางจืด…แก้พิษจากยาฆ่าหญ้า

ยาฆ่าหญ้าจำพวกพาราควอต นับเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องจากในขนาดกินประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนตายได้ โดยสารตัวนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถึยรขึ้นอย่างมาก ออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์เกิดการออกซิเดชันของไขมันที่อยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตาย พิษของพาราควอตจะเห็นชัดที่สุดในปอดเพราะปอดเป็นบริเวณที่มีออกซิเจรมากที่สุด ซึ่งพาราควอตจะทำให้เนื้อเยื้อปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้จนเสียชีวิตในที่สุด

จากรายงานผู้ป่วยของโรงพยาบาลเจ้าพระ-ยา ยมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บตัวอย่างเป็นเวลา ๓ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕ มีผู้ป่วยที่กินพาราควอตมาที่โรงพยาบาล ๖๔ ราย พบว่ามีผู้ป่วยรอดชีวิต ๓๓ ราย เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังกับการรักษาในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒ มีผู้ป่วยที่กินพาราควอต ๑๑ รายพบว่าเสียชีวิตทุกราย ซึ่งตัวเลขของโรงพยาบาลศิริราชที่มีการรักษาพิษพาราควอตเช่นเดียวกัน มีอัตราการตายประมาณร้อยละ ๘๐  แต่การรักษาพิษพาราควอตนั้นไม่ได้ให้แต่รางจืดอย่างเดียว แต่จะมีการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาก่อนแล้วล้างท้องด้วยฟูลเลอร์สเอิร์ท (Fuller’s earth) และทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกมามากๆ ให้แอนติออกซิแดนซ์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ โดยการให้วิตามินซีปริมาณสูงๆ และสตีรอยด์ รวมทั้งการรักษาแบบประคับประคองอื่นๆ ให้ยาต้มรางจืด วิธีเตรียมคือนำใบแห้งหนัก ๓๐๐ กรัม ใส่ในน้ำสะอาด ๑ ลิตร ต้มในหมอดินโดยใช้ไฟกลางเดือนนาน ๑๕ นาที ทิ้งไว้ให้เย็น ให้ผู้ป่วยดื่มหรือให้ทาง NG tube ครั้งละ ๒๐๐ มิลลิลิตร ทุก ๒ ชั่วโมง ตลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาลแม้ว่ารายงานนี้ไม่ถือเป็นงานวิจัยแต่เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มาก

พ.ศ. ๒๕๔๓ มีรายงานการศึกษาสัตว์ทดลองเกี่ยวกับการต้านพิษพาราควอตของสารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืด พบว่าสามารถทำให้อัตราการตายของหนูทดลองลดลง รวมทั้งพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดรางจืดมีระดับพลาสม่า malondialdehyde (MDA) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าสารสกัดใบรางจืดมีฤทธิ์ยับยั้ง lipid peroxidation และฤทธิ์นี้เป็นกลไกการออกฤทธิ์ต้านพิษพาราควอตกลไกหนึ่งของรางจืด รวมทั้งรางจืดยังไปเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ที่เรียกว่า NADPH quinineoxidonnereductase เป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารที่เรา ได้รับเข้าไปในร่างกาย

รางจืด…แก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชพิษ

ใช้แก้พิษแมงดาทะเลเป็นอีกหนึ่งรายงานของการใช้รางจืดแก้พิษ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีครอบครัวหนึ่ง ๔ คนที่กินไข่แมงดาทะเล ๒ ราย มีอาการรุนแรงจนหมดสติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งสารพิษที่อยู่ในแมงดาทะเล คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) สารนี้จะพบในแมงดาทะเลและปลาปักเป้า ซึ่งมีพิษทำให้ผู้ป่วยอาจถึงตายได้

ความรุนแรงของอาการพิษที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณไข่แมงดาทะเลที่ได้รับ เริ่มแสดงอาการตั้งแต่ ๔๐ นาทีถึง ๔ ชั่วโมง ทุกรายมีอาการชารอบปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการชาจะลามไปยังกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ที่เป็นอันตรายคือทำให้หายใจไม่ได้ อาการรุนแรง หมดสติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ วิธีการรักษาปัจจุบันไม่มีวิธีเฉพาะ ไม่มีสารแก้พิษโดยเฉพาะ ต้องรักษาแบบประคับประคองจนผู้ป่วยขับเอาสารนี้ออกจากร่างกายให้หมดแพทย์ผู้รักษาใช้รางจืดจากการร้องขอของญาติ เมื่อกรอกใส่สายยางลงไป ๔๐ นาที อาการดีขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้รักษารู้สึกประทับใจกับรางจืดมากและบอกว่าจังหวัดที่อยู่ชายทะเลปีหนึ่งจะมีคนตายจากพิษแมงดาทะเลหรือปลาปักเป้าทุกปี ถ้าทุกโรงพยาบาลสามารถปลูกต้นนี้และใช้กับผู้ป่วยของตัวเองจะช่วยให้ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

รางจืด…สู้กับมลภาวะ ออกฤทธิ์ต้านพิษของตะกั่วต่อสมอง

ตะกั่วเป็นมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีรถติด มีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป พิษตะกั่วต่อร่างกายมี อยู่หลายระบบ ที่สำคัญคือสมอง เนื่องจากตะกั่วจะไปสะสมอยู่ในสมองส่วนฮิปโพแคมพัสซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ มีงานวิจัยออกว่ารางจืดแม้จะไม่ได้ช่วยลดระดับตะกั่วในเลือดของหนูที่เราให้ตะกั่วเข้าไป แต่ไปช่วยลดพิษของตะกั่วต่อความจำและการเรียนรู้ของหนู และทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลง ด้วยกลไกการต้านออกซิเดชัน โดยตัวของรางจืดเองและการไปช่วยรักษาระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง

รางจืดช่วยในการลด เลิกยาบ้า

จากการที่ชาวบ้านนำรางจืดมาแก้พิษยาเสพติดภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรางจืดต่อเซลล์สมอง พบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายกับสารเสพติดแอมเฟทามีน และโคเคน โดยทั่วไปเพิ่มการหลั่งโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งมากในขณะที่ผู้ป่วยได้รับสารแอมเฟทามีน รวมทั้งไปเพิ่ม activity ของเซลล์ประสาทในสมองส่วน nucleus accumbens , globus pallidus,amygdala,frontal cortex ,caudate putamen and hippocampus ที่เกี่ยวข้องกับ  reward and locomotor behaviour ทำให้คาดว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดรางจืดอาจเกิดความพิงพอใจเช่นเดียวกับการรับยาเสพติด หากนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทรายมาก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งทีการรักษาด้วยสารสกัดสมุนไพรได้ผล

รางจืดต้านพิษเหล้า

จากการที่ประชาชนส่วนหนึ่งได้นำรางจืดมาใช้ในการต้านพิษสุรา เช่น ใช้เพื่อป้องกันหรือลดอาการเมาเหล้า คณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต้านพิษแอลกอฮอล์ต่อตับ พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วย ป้องกันการตายของเซลล์ตับจากพิษของแอลกอฮอล์ ทั้งในหลอดทดลองและในหนูแรตทีได้รับแอลกอฮอล์ โดยทำให้ค่า AST,ALT ในพลาสม่าและไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับลดลง และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางจุลพยาธิวิทยาของตับเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับเเอลกอฮอล์อย่างเดียว

เนื่องจากสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดช่วยลดการเกิด heppatic lipid peroxidation ลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด และเพิ่มระดับเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และ aldehyde dehydrogenase

ส่วนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า พบว่าสารสกัดรางจืดให้ผลลดภาวะซึมเศร้าและทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของหนูเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่มีผลลดความวิตกกังวล โดยสารสกัดราถงจืดช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากขาดเหล้าในสมองส่วน messolimbic dopaminergic system โดยเฉพาะที่บริเวณ  nucleus accumbens และ ventral tegmental area

รางจืด…เพื่อคุณภาพชีวิตของโรคเรื้อรัง

การที่มีหมอยาพื้นบ้านจำนวนหนึ่งใช้รางจืดในการคุมเบาหวานและความดัน ซึ่งมีการทดลองที่สนับสนุนการใช้ดังกล่าวคือ ในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มใบรางจืดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนน้ำคั้นใบรางจืดสดในขนาด ๕๐ มก./มล.ที่ให้หนูเบาหวานดื่มแทนน้ำนาน ๑๒ วัน ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ ยังมีการทดลองพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ ในเรื่องของฤทธิ์ลดความดันนั้นพบว่าสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดแห้งมีผลทำให้ความดันโลหิตของหนูแรตลดลง โดยกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจผ่าน Cholinergic receptor และทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว

หมายเหตุ : การใช้สมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันนี้พึงระลึกว่าต้องมีการรักษาร่วมไปกับแผนปัจจุบันและมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการศึกษายังอยู่ในขั้นตอนของสัตว์ทดลองเท่านั้น รวมทั้งต้องระมัดระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันของตัวยาดังกล่าว

รางจืด… ต้าน แก้อักเสบ

การที่หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้รางจืดมารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น ผด ผื่นคัน แมลงกัดต่อย เริม งูสวัด มีการศึกษาว่ารางจืดมีฤทธิ์ต้านการอับเสบสูงกว่ามังคุดประมาณ ๒ เท่า(ทดสอบด้วยวิธี Carrageenan induced paw edema) ในหนูถีบจักรและยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า สารสกัดรางจืดในรูปแบบของครีมสามารถลดการอักเสบได้ดีเท่ากับสตีรอยด์ครีม

 

รางจืด… กับมะเร็ง

รางจืดยังมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง โดยมีการศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ กล่าวคือสารใดๆ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์มีศักยภาพสูงสามารถก่อมะเร็งได้ แต่รางจืดมีฤทธิ์ต้านไม่ให้สารนั้นออกฤทธิ์ มีการศึกษาโดยให้หนูกินสารสกัดของกวาวเครือซึ่งกวาวเครือจะไปมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวและการสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง กล่าวคือนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดงจะเป็นก้อน ใหญ่ขึ้น และมีการแบ่งตัว นั่นคือกวาวเครือไปทำให้การเกิด micronuclei ของเม็ดเลือดแดงเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าให้สัตว์ทดลองกินรางจืดร่วมด้วย พบว่าสามารถลดการเกิด micronuclei ได้ ซึ่งทั้งรางจืดแบบสดและแบบแห้งสามารถใช้ได้ผลเช่นกัน นับเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่งของรางจืด

โดยพบว่าสารออกฤทธิ์อาจเป็นกรดฟีนอลิก ได้แก่ caffeic acid และ apigenin และสารกลุ่มคลอโรฟิลล์ ได้แก่ chlorophyll a, chlorophyll b, pheophorbide a และ pheophytin a ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

รางจืด… ผักพื้นบ้านที่มีความปลอดภัย

รางจืดเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงชนิดหนึ่ง ทั้งจากการที่ชาวบ้านกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผัก ใช้ลวกกิน แกงกิน เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่วๆ ไป

นอกจากนี้ ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บานอีกด้วย ในส่วนของการศึกษาวิจัย มีการศึกษาทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง โดยการศึกษา ๒๘ วันก็ไม่พบหนูตาย ไม่เกิดความผิดปกติในอวัยวะภายใน ต่อมามีการศึกษาระยะ ๖ เดือน ที่เรียกว่าการศึกษาพิษเรื้อรัง พบว่ามีค่าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในซีรั่มในเนื้อเยื่อของหนูไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มควบคุม เรียกว่ามีความปลอดภัย ค่าที่พบเปลี่ยนแปลงบางค่าหรือบิลิลูบินเพิ่มขึ้นแต่ก็อยู่ในช่วงค่าปกติ

อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดปริมาณมากต่อเนื่องกัน มีคำเตือนว่าต้องมีการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้น

 

บทสรุปแห่ง…รางจืด

จากประวัติการใช้ที่ยาวนานในแผ่นดินไทย ประกอบกับการศึกษาวิจัยที่บอกว่ามีความปลอดภัยและการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนการใช้ของคนโบราณร่วมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนไปด้วย สารพิษและปัญหายาเสพติดทุกหย่อมหญ้าในขณะที่อีกทางต้องไปแก้ไขที่ต้นตอแห่งปัญหาเช่น การลดการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันก็ต้องหาทางช่วยเหลือเยียวยาปัญหาที่ยังดำรงอยู่ ขอเพียงแต่มีดินให้รากยึดหาอาหาร มีโครงให้เลื้อย รางจืดจะแตกใบแตกยอดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้แสนง่าย เพียงแต่นำมาต้มมาชงกิน ฤาว่าในยามนี้ภูมิปัญญาไทยจะหวนกลับมาช่วยสังคม

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

หมอชาวบ้าน

Comments are closed.