Articles

อีโคไล…แบคทีเรียสายพันธ์ุใหม่ที่ควรระวัง

แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไล หรือ Escherichia ซึ่งพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์

หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้

อีโคไล

 

เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร

เชื้อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ

 

การระบาดของเชื้ออีโคไล

การแพร่ระบาดของเชื้อ อีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540

 

อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล

จะพบอาการแต่เริ่ม ท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ

 

ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล

ระยะฟักตัวของเชื้อ อยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย

 

ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล

เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่า คนทั่วไป

 

การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

women.sanook

 

Comments are closed.