โรคอ้วน หรือ Obesity
หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไป จนเสียสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูง
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอ้วน
- กรรมพันธุ์ – ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
- นิสัยจากการรับประทานอาหาร – คนที่มีนิสัยการรับประทานอาหารไม่ดี หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
- การไม่ออกกำลังกาย – ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย
- อารมณ์และจิตใจ – มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
- ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร – เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น “กินจุ” ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
- เพศ – ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
- อายุ – เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
- กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
- ยา – ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
คนที่เป็นโรคอ้วน นอกจากจะก่อให้เกิดความอึดอัดแก่ตนเองแล้ว ยังทำให้เสียบุคคลิกภาพและเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆดังนี้
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- โรคข้อกระดูกเสื่อม
- โรคทางระบบทางเดินหายใจ
- โรคมะเร็งบางประเภท
วิธีการลดความอ้วน
ปัจจุบันยังมีคนอีกจำนวนมากที่ชอบใช้ทางลัดในการลดความอ้วน คือทานยาลดความอ้วนหรือการอดอาหาร ซึ่งทั้งสองวิธีที่กล่าวมานี้เป็นวิธีที่ผิด เพราะจะมีผลข้างเคียงตามมามากมายถึงแม้ว่าจะได้น้ำหนักที่ต้องการ
1. ควบคุมอาหาร
ลดอาหารจำพวกแป้ง หรือรับประทานอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่นข้าวที่ไมขัดสี เพราะจะทำให้อิ่มได้นานขึ้น เน้นอาหารประเภทโปรตีน ลดของมันของหวาน
2. ออกกำลังกาย
คนอ้วนควรหันมาออกกำลังกายแบบสลายไขมันก่อน คือ aerobic exercise เป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนี่อง อย่างน้อย 20 นาทีขึ้นไปเช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ เต้นรำ รำไท๊เก๊ก หรือแม้กระทั่งเล่นโยคะ ถ้ารีบร้อนอยากจะหุ่นฟิตแอนด์เฟิมโดยที่ยังไม่ได้ลดขนาดของไขมันที่มีอยู่ตามทุกส่วนของร่างกาย แล้วรีบร้อนไปแล่นกีฬาแบบ nonaerobic exercise จะทำให้ไขมันเปลียนเป็นกล้ามเนี้อ ผลก็คือรูปร่างก็จะใหญ่และยิ่งลดน้ำหนักยากขึ้นไปอีก
ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม
งดทานขนมจุบจิบ มื้ิอเช้าและกลางวันสามารถทานเยอะได้ งดแป้งในมื้อเย็น ไม่ทานอาหารก่อนเวลาเข้านอน หรือถ้าต้องทานดึก อย่างน้อยควรมีเวลาให้กระเพาะอาหารได้ย่อยซัก 3-4 ชั่วโมง
3. จิตใจที่ผ่องใส
เมื่อใดที่เราไม่เครียด น้ำย่อยในร่างกายก็จะหลั่งตามปรกติ แล้วเราก็จะไม่หิวบ่อย
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนน้อยจะทำให้ร่างกายเหนี่อยล้าได้ง่าย และจะนำมาซึ่งความหิวและการรับประทานที่เกินพอดี
และถ้าเราอยากรู้ว่าน้ำหนักเราได้สัดส่วนกับส่วนสูงของเรารึเปล่า ให้คำนวนหาค่า BMI หรือ Body Mass Index ซึ่งก็คือค่าดัชนีมวลกาย โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความสูงและน้ำหนักของเรา วิธีคิดคือเอาฯ้ำหนักตัวหารด้วยความสูงคูณความสูง เช่นหากคุณสูง 170 เซนติเมตรและหนัก 60 กิโลกรัม
คำนวนอย่างนี้
60/(1.70*1.70) = 20.8
หากค่า BMI ตรงกับ 25 หรือสูงกว่า หมายถึงน้ำหนักเกิน แต่ถ้าค่า BMI อยู่ที่ 30ขึ้นไป หมายความว่าเข้าข่ายเป็น “โรคอ้วน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ ห้างขายยาตราเสือมังกร
นิตยสาร Aigle Vol.1 January 2011
ยาทิพย์ลีลา
เป็นยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก