Articles

บำรุงหัวใจด้วย วิตามิน

โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการตายและพิการในระดับต้น ๆ ของคนไทย อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นและเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ

ปัจจัยหลักสองประการคือ อาหารที่อุดมไปด้วยแป้ง ไขมันและเนื้อสัตว์ในปริมาณสูง ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ และความเครียดจากการทำงาน ชีวิตและพฤติกรรมที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

เมื่อเรารู้สึกยากลำบากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งทางด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การทานวิตามินที่มีผลประโยชน์ที่ดีโดยตรงต่อระบบหลอดเลือด ต่อหัวใจ ให้ทำงานรับใช้เราไปนาน ๆ ไม่ลาจากก่อนไปก่อนเวลา

วิตามินอี ผลการวิจัยหลาย ๆ สำนักสรุปตรงกันว่า การเสริมอาหารด้วยวิตามินอี 200-400ยูนิตสากล (IU) จะเป็นประโยชน์ระยะยาวต่อระบบหลอดเลือด เพราะวิตามินอีไปลดกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการสันดาประหว่างอนุมูลอิสระกับไขมันตัวร้าย (LDL) ในร่างกาย

เมื่อลดการสันดาปไขมันก็ไม่เกาะติดกับผนังหลอดเลือดมากไป เลือดก็ไหลเวียนดีไม่ติดขัด อุดตันให้หวาดเสียวหัวใจ เราหาวิตามินอีได้จากอาหารประเภทน้ำมันพืช เช่นทานตะวัน ถั่วอัลมอนด์ ผักปวยเล้ง

วิตามินซี หน้าที่ของวิตามินซีก็ช่วยลดการสันดาปเช่นเดียวกับวิตามินอี ช่วยดูแลความดันให้ปกติ แต่ต่างจากวิตามินอีที่วิตามินซีจะลายได้ดีในน้ำ

วิตามินบี วิตามินบี 6 บี 12 และกรดโฟลิค การศึกษาในระยะหลัง มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ป้องกันโรคหัวใจได้ดีขึ้น เพราะมีการพบว่ากรดอะมิโนตัวหนึ่งในร่างกายของเราที่ชื่อว่า โฮโมซีสเทอีน(Homocysteine)หากมีค่าที่สูงเกินไปในร่างกาย จะทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นสูง และเพิ่มการอักเสบในหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงที่ไขมันจะอุดตันการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจและสมอง

[…]

อาหารรักษามวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน

 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระดูก

กระดูกของคนเรามีการเจริญตั้งแต่ระยะฟีตัส (อยู่ในครรภ์มารดา) ทารก และเรื่อยไปจนถึงอายุประมาณ 25-30 ปี จากนั้นจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของกระดูกด้วยการสะสมมวลกระดูก จนถึงระยะมวลกระดูกสูงสุด (Peck Bone Mass)ที่อายุ 35 ปี หลังจากนั้น มวลกระดูกจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ อย่างไรก็ตามในระยะที่มวลกระดูกยังไม่ถึงค่าสูงสุด การบริโภคแคลเซียมมีความสำคัญ ต่อการสะสมมวลกระดูก หากบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ระดับมวลกระดูกสูงสุด จะต่ำกว่าระดับที่ควรเป็นได้ และจะไปมีผลทำให้เกิดปัญหาภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกบางและเปราะ จึงมีโอกาสแตกหักได้ง่ายโดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพกและสันหลัง หรือกระดูกหลังยุบ ทำให้หลังค่อมตัวเตี้ยลง

การทานอาหารที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ให้มีความแข็งแรงอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น น่าจะมีความสำคัญในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในอนาคตได้ และถึงแม้ว่าบางคนจะมีอายุที่เกินระยะมวลกระดูกสูงสุด (อายุเกิน 35 ปี) การทานอาหารที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ก็เป็นการช่วยรักษาไม่ให้มวลกระดูกที่มีอยู่เสื่อมถอยลงไปจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ดังนั้นเราจึงควรปรับพฤติกรรมการทานอาหารต่างๆที่มีผลต่อการเจริญของกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดปัญหาของการเกิดภาวะ กระดูกพรุน หรือกระดูกเปราะบาง ในอนาคตได้

 

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างมวลกระดูก

1. บริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเนื่องจากแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างเนื้อกระดูกและป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูก […]

ขวดพลาสติก BPA..เสื่ยงสมองเสื่อม

ขวดน้ำพลาสติก เครื่องดื่มเย็น ๆ ในขวดพลาสติก ถ้วยพลาสติกใส่กาแฟเย็น ที่เราใช่แทบทุกวันอาจเป็นภัยร้ายที่จะฆ่าเราอย่างช้า ๆ

ผลวิจัยล่าสุดจากหมาวิทยาลัย เยล บอกว่าสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในภาชนะพลาสติก มีผลต่อสมองและอารมณ์ของลิงให้ห้องทดลอง เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยว่ามีผลต่อสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

Bisphenol A หรือ BPA สารประกอบสำคัญในพลาสติก ที่อุตสาหกรรมพลาสติกนำมาทำภาชนะต่าง ๆ ให้เรารู้สึกว่าสะดวก เบา ไม่แตกง่าย ใส่ได้ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม แต่ตัว BPA นี้จะซึมออกจากพลาสติกมาผสมกับอาหารและน้ำดื่มที่เราบรรจุอยู่ และที่น่าตกใจอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการตรวจปัสสาวะของคนทั่วไป ปรากฏว่า พบสารตัวนี้ถึง 93% ในประชากรทั้งหมด

ในสถาบันทดลองของมหาวิทยาลัย เยล ได้ทดลองให้ลิงได้รับสาร BPA ในปริมาณที่หน่วยงานความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของอเมริการับรองว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ ผลปรากฏว่า เซลล์สมองของลิงมีผลกระทบต่อความจำ อารมณ์ และการเรียนรู้ใหม่ ๆ

นักวิจัยก็พยายามทดลองต่อไปอีกว่า แล้วปริมาณต่ำแค่ไหนที่จะไม่มีผลกระทบต่อเซลล์สมองของลิง และวิจัยเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ระดับที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ ควรเป็นเท่าไหร่กันแน่ แต่ผลวิจัยนี้ก็ได้รับการโต้แย้งจากหน่วยงานสมาคมเคมีของอเมริกาว่ายังไม่มีหลักฐานแน่ชัดใด ๆ ที่บอกว่า BPA ในพลาสติกมีผลต่อสุขภาพมนุษย์ ขณะเดียวกัน FDA […]

ภัยเงียบจาก “ยาตีกัน” ผู้ใช้ยาอาจถึงตายได้

 

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังจะเห็นได้ว่าในปี 2553 สัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ที่ 12% ของประชากรไทย และประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17% ในปี 2563 ซึ่งแน่นอนผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวไม่โรคใดก็โรคหนึ่ง

จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 ของสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำการสำรวจในประชากรจำนวนทั้งสิ้น 21,960 คน มีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 44% หรือ 9,720 คน ทั้งนี้พบว่าประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีโรคเรื้อรังเรียงตามลำดับดังนี้ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวาน โดยมีผู้ป่วยเพียงบางส่วนที่รู้ตัวและได้รับการรักษา และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแต่ควบคุมไม่ได้ก็มีจำนวนไม่น้อย ซึ่งสูงสุดอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกับปัญหาการใช้ยา

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มักจะมีหลายโรคร่วม การรักษาหลักก็คือ รับประทานยา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกันและใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง ช่วงเวลาการนัดผู้ป่วยเพื่อมาติดตามผลการรักษามีความถี่ต่ำ อาจเป็น 3-6 เดือน ซึ่งในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่บ้านและรับประทานยาหลายชนิด ใช้ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทั้งจากยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว จากการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ […]

โรคมือ เท้า ปาก คือโรคอะไร

Hand, Foot, Mouth Disease

โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งของโรคติดเชื้อคอคแซคคี (Coxsackie Virus A-16) หรือ เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)อาการป่วยได้แก่ มีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม และเกิดผื่นแดง ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆ แดง (มักไม่คัน เวลากดจะเจ็บ) ที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบน้อยลงในเด็กอายุต่ำกว่า […]